วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2559

                                           


    บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

วิชา EAED 4215 Learning Experiences Management in Early childhood  


อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ

วันที่ 17 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559  
กลุ่ม 106  เวลาเรียน 14.30 - 17.30 น.



ความรู้ที่ได้รับ 
                                                                                        
          อาจารย์ให้คำแนะนำเกี่ยวกับแผนการสอนและขั้นตอนการสอนแผนเคลื่อนไหวและจังหวะจะต้องมีการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐาน โดยจะต้องมีวิธีการสัมพันธ์กับเนื้อหาโดยยึดคำสั่งในการเปลี่ยนท่าทางหรือจะให้เด็กหาบริเวณและพื้นที่ตัวเอง ห้ามชนกับเพื่อน โดยคุณครูเคาะจังหวะ ครั้ง เด็กๆเดิน ก้าวจะต้องเป็นกิจกรรมขั้นพื้นฐาน เช่น เดิน ควบม้า สคิป เมื่อเด็กได้ยินเสียงการเคาะสัญญาณ ครั้ง ให้เด็กเลียนแบบท่าทางต่างๆ อาจจะให้เด็กทำเป็นกลุ่ม โดยให้เด็กเลือกเสื้อตัวเองตนเองชอบ การทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะใช้ระยะเวลาในการสอนกลุ่มล่ะ 20 นาที


   






บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

 วิชา EAED 4215 Learning Experiences Management in Early childhood

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ


วันที่ 3 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559  
กลุ่ม 106  เวลาเรียน 14.30 - 17.30 น.



  




ความรู้ที่ได้รับ

อาจารย์ให้นักศึกษานำแผนการสอนที่มอบหมายให้ในสัปดาห์ที่แล้วมาส่งในคาบเรียนและ อาจารย์ก็ให้คำแนะนำการเขียนแผนการสอนให้ถูกต้อง และสามารถนำไปบูรณาการเข้ากับวิชาต่างๆได้ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์กับเด็กได้จริงในการออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ซึ่งสามารถบูรณาการได้ทั้ง 6 กิจกรรมหลัก  คือ  

1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอย่างอิสระตามจังหวะ ซึ่งจังหวะและดนตรีที่ใช้ประกอบได้แก่ เสียงตบมือ เสียงเพลง เสียงเคาะไม้ เคาะเหล็ก รำมะนา กลอง ฯลฯ

2. กิจกรรมสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับงานศิลปศึกษาต่าง ๆ ได้แก่ การวาดภาพระบายสี การปั้น การพิมพ์ภาพ การพับ ตัด ฉีก ปะ และประดิษฐ์เศษวัสดุ ที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิดสร้างสรรค์ การรับรู้เกี่ยวกับความงามและส่งเสริมกระตุ้นให้เด็กแต่ละคนได้แสดงออกตามความรู้สึกและความสามารถของตนเอง

3. กิจกรรมเสรี เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เล่นกับสื่อและเครื่องเล่นอย่างอิสระในมุมการเล่นกิจกรรมการเล่นแต่ละประเภทสนองตอบความต้องการตามธรรมชาติของเด็ก

4. กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ฟัง พูด สังเกต คิด และปฏิบัติการทดลอง ให้เกิดความคิดรวบยอดและเพิ่มพูนทักษะต่าง ๆ ด้วยวิธีการหลากหลาย เช่น การสนทนา ซักถามหรืออภิปราย สังเกต ทัศนศึกษา และปฏิบัติการทดลองตามกระบวนการเรียนรู้

5. กิจกรรมกลางแจ้ง เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ออกนอกห้องเรียนไปสู่สนามเด็กเล่นทั้งที่บริเวณกลางแจ้งและในร่มเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกอย่างอิสระ โดยยึดเอาความสนใจ และความสามารถของเด็กแต่ละคนเป็นหลัก
6. กิจกรรมเกมการศึกษา เป็นกิจกรรมการเล่นที่มีกระบวนการในการเล่นตามชนิดของเกมประเภทต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน



แผนการสอน หน่วยส้ม



คาบเรียนหน้าอาจารย์มอบหมายงานให้นักศึกษาไปเตรียมแผนมาทดลองสอนแผนการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะในสัปดาห์หน้า


   



บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

วิชา EAED 4215 Learning Experiences Management in Early childhood


อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ


วันที่ 3 เดือน กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2559  
กลุ่ม 106  เวลาเรียน 14.30 - 17.30 น.







     ความรู้ที่ได้รับ   

  อาจารย์สอนเนื้อหาเกี่ยวกับแผนการสอน และมอบหมายงานให้นักศึกษาไปศึกษาเกี่ยวกับแผนการสอนโดยให้นักศึกษาไปเขียนแผนการสอนมา เป็นกลุ่มและจะต้องสอดคล้องกับ กิจกรรมหลัก มีดังต่อไปนี้

1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอย่างอิสระตามจังหวะ ซึ่งจังหวะและดนตรีที่ใช้ประกอบได้แก่ เสียงตบมือ เสียงเพลง เสียงเคาะไม้ เคาะเหล็ก รำมะนา กลอง ฯลฯ


2. กิจกรรมสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับงานศิลปศึกษาต่าง ๆ ได้แก่ การวาดภาพระบายสี การปั้น การพิมพ์ภาพ การพับ ตัด ฉีก ปะ และประดิษฐ์เศษวัสดุ ที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิดสร้างสรรค์ การรับรู้เกี่ยวกับความงามและส่งเสริมกระตุ้นให้เด็กแต่ละคนได้แสดงออกตามความรู้สึกและความสามารถของตนเอง

3. กิจกรรมเสรี เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เล่นกับสื่อและเครื่องเล่นอย่างอิสระในมุมการเล่นกิจกรรมการเล่นแต่ละประเภทสนองตอบความต้องการตามธรรมชาติของเด็ก

4. กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ฟัง พูด สังเกต คิด และปฏิบัติการทดลอง ให้เกิดความคิดรวบยอดและเพิ่มพูนทักษะต่าง ๆ ด้วยวิธีการหลากหลาย เช่น การสนทนา ซักถามหรืออภิปราย สังเกต ทัศนศึกษา และปฏิบัติการทดลองตามกระบวนการเรียนรู้

5. กิจกรรมกลางแจ้ง เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ออกนอกห้องเรียนไปสู่สนามเด็กเล่นทั้งที่บริเวณกลางแจ้งและในร่มเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกอย่างอิสระ โดยยึดเอาความสนใจ และความสามารถของเด็กแต่ละคนเป็นหลัก

6. กิจกรรมเกมการศึกษา เป็นกิจกรรมการเล่นที่มีกระบวนการในการเล่นตามชนิดของเกมประเภทต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน






1.หน่วย ส้ม






2.หน่วย เห็ด





3.หน่วย กล้วย 





4.หน่วย ผีเสื้อ



5.หน่วย ผัก




6.หน่วย ยานพาหนะ










บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

วิชา EAED 4215 Learning Experiences Management in Early childhood

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ

วันที่ 27 เดือน มกราคม พ.ศ. 2559  
กลุ่ม 106  เวลาเรียน 14.30 - 17.30 น.





ความรู้ที่ได้รับ

อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนองาน  การจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดของนักทฤษฎีต่างๆ ได้ดังนี้

1.มอนเตสซอรี่ (Montessori Method)

2.วอลดอร์ฟ (Waldorf)

3.การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน (Project - based Learning : PBL)

4.พหุปัญญา (Multiple Intelligence)

5.STEM (Science, Technology, Engineering, and Mathematics)

6.BBL (Brain-based Learning)
Montessori Met


มอนเตสซอรี่ (Montessori Method)

hod มอนเตสเซอรี่
ทฤษฎีและแนวคิดของมอนเตสซอรี
มอนเตสซอรี ได้แบ่งระยะการเรียนรู้ที่เหมาะที่สุดของเด็กออกเป็น 6 ระยะ ระยะเหล่านี้เรียกว่าSensitive periods
     1.ระยะที่หนึ่ง เป็นระยะที่ซึมซับหรือเรียนรู้ "การรับรู้ทางด้านประสาทสัมผัส" ดีที่สุด ระยะนี้จะเป็นช่วงอายุตั้งเเต่แรกเกิดถึง 5  ปี ช่วงนี้เด็กควรจะมีโอกาสได้ฝึกประสาทสัมผัสให้มากที่สุด เด็กที่ขาดโอกาส เช่น ถูกห้ามไม่ให้แตะต้อง หยิบ สัมผัสสิ่งของต่างๆ จะขาดโอกาสที่จะพัฒนาความสามารถทางรับรู้ทางประสาทสัมผัส
    2.ระยะที่สอง เป็นระยะที่เรียนรู้ภาษาได้ดีที่สุดจะเป็นช่วงระยะตั้งแต่อายุ 3 เดือน ถึง 5 ปี เด็กจะเรียนจากปฏิกิริยาและสิ่งแวดล้อมและการเลียนแบบ
   3.ระยะที่สาม เป็นระยะที่เรียนรู้ "ระเบียบ"(Order) ดีที่สุดจะเป็นช่วงอายุแรกเกิดถึง 3 ปี ในช่วงปีที่ 2 จะเป็นช่วงสูงสุด ในปีที่ 3 จะค่อยลดลง การเรียนรู้"ระเบียบ" นี้เด็กจะเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมและกิจวัตรที่คงที่สม่ำเสมอ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เตียงนอน ตู้เสื้อผ้าจะต้องอยู่คงที่ ถ้ามีการเปลี่ยนที่ เด็กจะรู้สึกสับสน เวลากินอาหาร เวลาเล่น ถ้าสม่ำเสมอ เด็กจะรู้สึกสบายใจ ใบหน้าของผู้เลี้ยงดูก็จะต้องเป็นใบหน้าเดิม ถ้าการเปลี่ยนแปลงก็จะทำให้เด็กสับสน พ่อแม่ส่วนใหญ่จะไม่เข้าใจว่าอยู่ๆ ทำไมลูกจึงร้องไห้เป็นวรรคเป็นเวร ซึ่งเกิดขึ้นเพราะมีการเปลี่ยนแปลงทำให้เด็กเกิดความสับสน เพราะฉะนั้นในวัยนี้ผู้เลี้ยงดูจึงต้องพยายามให้มีความคงที่ ในกิจวัตรและสิ่งแวดล้อม ถ้าจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงควรหาทางให้เด็กค่อยๆเคยชินการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ
    4.ระยะที่สี่ เป็นระยะที่เรียนรู้"ของเล็กๆและรายละเอียดย่อยๆ"(tiny objects and small details) ระยะนี้ได้แก่ ช่วงอายุ 2-3 ปี ในช่วงนี้เด็กชอบสังเกตสิ่งเล็ก เช่น เวลาพาไปเที่ยวปิกนิกแทนที่เด็กจะสนใจนำตก แต่กลับสนใจมดเล็กๆที่เดินแถวมาที่โต๊ะอาหาร เวลาดูรูปภาพเด็กก็จะสังเกตเห็นรายละเอียดเช่น เข็มขัดหรือดาบของนักรบถ้าเด็กได้รับการส่งเสริมให้เหมาะสมกับระยะ sensitive period นี้ก็จะช่วยพัฒนาให้เด็กเป็นคนช่างสังเกตมีสมาธิซึ่งเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ของศาสตร์ต่างๆ
   5.ระยะที่ห้า เป็นระยะที่เรียนรู้ "ความสัมพันธ์ของการเคลื่อนไหว" (co-ordination of movement) ระยะนี้ได้แก่ ช่วงอายุ 2-4 ปี วัยนี้เด็กจะเรียนรู้การใช้อวัยวะต่างๆเช่น นิ้ว แขน ปาก ได้อย่างดี
   6.ระยะที่หก เป็นระยะที่เรียนรู้ "ความสัมพันธ์ทางสังคม(Social relations) ได้แก่ ช่วงอายุ 2-5 ปี วัยนี้เด็กจะเริ่มเรียนรู้ความรู้สึกของผู้อื่นและมารยาททางสังคม ถึงแม้เด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี จะมีปกติเล่นตามลำพัง หรือเล่นคู่ขนานกับเพื่อน แต่วัยนี้เด็กเริ่มเรียนรู้และสนใจผู้อื่น สนใจที่จะเรียนรู้มายาทและวัฒนธรรมในสังคม


สรุป แนวการสอนของมอนเตสซอรี
           แนวการสอนของมอนเตสซอรี เน้นให้เป็นไปตามพัฒนาการและความต้องการของเด็ก โดยมอนเตสซอรีมีความเห็นว่า เด็กวัย 0-6 ปี หรือปฐมวัยนี้เป็นวัยที่เด็กมีจิตที่ตื่นตัว (active) อย่างมากในการที่จะเรียนรู้ซึมซับจากสิ่งแวดล้อม เพราะฉะนั้นผู้ใหญ่ที่แวดล้อมเด็กหรือผู้ดูแลเด็กควรมีสัมพันธภาพที่ดีต่อเด็ก มีความรัก เอื้ออาทรและในขณะเดียวกันให้ความเคราพในเอกัตภาพของเด็กโดยให้โอกาสเด็กในการเลือกให้เด็กมีเสรีภาพ นอกจากนี้เด้กควรจะได้พัฒนาประสาทสัมผัสการเคลื่อนไหวโดยได้มีการหยิบจับกระทำ เพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้ (Independence)อุปกรณ์ในการฝึกประสาทสัมผัสของมอนเตสซอรีที่เรียกว่า didactic apparatus มีชื่อเสียงมาก
           มอนเตสซอรีเชื่อว่าเด็กปฐมวัยชอบความมีระเบียบ มอนเตสซอรีจึงเน้นการเตรียมการสอนของครูให้เป็นไปตามขั้นตอน
การสอนของมอนเตสซอรีจะเน้นการเรียนรู้เป็นรายบุคคล โดยเด็กจะฝึกกระทำกับอุปกรณ์ที่เตรียมไว้เป็นรายบุคคล แต่การแนะนำการใช้อาจจะเริ่มจากกลุ่มเล็กๆก่อน
             นอกจากนี้มอนเตสเซอรี่เน้นการที่ให้เด็กเลือกทำกิจกรรมต่างๆด้วยตนเอง เพื่อเป้นการฝึกการคิดริเริ่มด้วยตนเอง และความสามารถในการนำทางตนเองได้ (individual initiative and self-direction)
              มอนเตสซอรีเชื่อว่าเด็กมีจิตที่อยากรู้ อยากทำได้ เพราะฉะนั้นอุปกรณ์การสอนของมอนเตสซอรีจะเปิดโอกาสให้เด็กฝึกทำ ลองผิดลองถูก ไม่กลัวผิด กล้าเสี่ยง และเมื่อเด็กทำได้เด็กจะรู้สึกพอใจ และเป็นรางวัลภายในตนเอง การสอนของมอนเตสซอรี่จึงไม่มีการให้คะเเนนให้ดาว ซึ่งเป็นสิ่งเร้าภายนอก แต่ให้เด็กรู้สึกภาคภูมิใจที่ทำได้เอง
             มอนเตสซอรีไม่เน้นบทบาทเรื่องการสอนของครู แต่เน้นบทบาทในการสังเกต อำนวยความสะดวกจัดอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับเด็ก ถ้าจะช่วยเด็กก็ต้องช่วยชนิดที่ให้เด็กช่วยตัวเองได้
            มอนเตสซอรีมีความเชื่อมั่นจิตที่ตื่นตัวที่จะเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยมาก ถึงกล่าวว่าเด็กที่มีปัญหาต่างๆ เช่น ดื้อ ซนอยู่ไม่สุขก้าวร้าวนั้นเป็นเพราะเด็กมีโอกาสได้ทำในสิ่งที่เด็กต้องการทำ คือ การได้เคลื่อนไหว การฝึกประสาทสัมผัส ความภาคภูมิใจที่ทำได้ เมื่อเด็กไม่มีโอกาสทำตามที่ธรรมชาติของเด็กต้องการเด็กก็จะมีกิริยาก้าวร้าวหรือมีปัญหาต่างๆ มอนเตสซอรีเชื่อว่า ถ้าจัดประสบการณ์การเรียนให้เหมาะสมกับความต้องการทางจิตที่จะเรียนรู้ของเด็กแล้ว เด็กจะไม่มีปัญหาทางวินัย และจะเติบโตเป็นบุคคลที่มีความมั่งคงทางจิตใจพึ่งตนเองได้และเป็นประโยชน์ต่อสังคม
ชไวฮาร์ต (Schweinhart,1988) ได้เปรียบเทียบ หลักสูตรการจัดประสบการณ์ในชั้นปฐมวัยของแนวการสอน 4 แบบ ที่แพร่หลายในสหรัฐอเมริกาขณะนี้ คือ
1.แบบวินิจฉัยและแก้ไข (Diagnostic and Prescriptive)
2.แบบครูสอนโดยตรง (Direct Instruction)
3.แบบไฮโคป (High Scope)
4.แบบมอนเตสซอรี (Montessori)



วอลดอร์ฟ (Waldorf)




การเรียนการสอนแบบวอลดอร์ฟ( Waldorf  Method)
การศึกษาปฐมวัย  เป็นการศึกษาที่จัดให้แก่เด็กปฐมวัย  ลักษณะของการจัดการศึกษาเน้นการดูแลควบคู่ไปกับการให้การศึกษา  รูปแบบการเรียนการสอนแต่ละรูปแบบมีจุดเด่นเฉพาะของรูปแบบที่ครูสามารถเลือกใช้หรือประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของผู้เรียนและชั้นเรียนของตน  จุดสำคัญของการใช้รูปแบบอยู่ที่ครูเข้าใจมโนทัศน์ของรูปแบบ  แนวคิดพื้นฐาน  หลักการสอน  วิธีจัดการเรียนการสอน  การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้  บทบาทครู
แนวคิดพื้นฐาน
            การเรียนการสอนแบบวอลดอร์ฟอยู่บนพื้นฐานที่ว่าการเรียนรู้ของคนเกิดจากความสมดุลของความคิด  ความรู้สึก  และเจตจำนงของคน ๆ นั้น  หากเด็กได้อยู่ในบรรยากาศแห่งความต้องการ  ความรู้สึกสบายใจ  ความผ่อนคลาย  เด็กจะถ่ายทอดความคิดและการเรียนรู้อย่างแยบคลายร่วมไปกับการทำกิจกรรมที่เขากระทำอยู่
รูดอล์ฟ  สไตเนอร์  ( Rudolf  Stiner ,  1861 – 1925 )  ได้จัดตั้งโรงเรียนวอลดอร์ฟ  ( Waldorf  School )  แห่งแรกขึ้นที่สตุทการ์ต  ประเทศเยอรมนี  เมื่อเดือนกันยายน  ค.ศ.  1919  โดยมีความเชื่อว่าการศึกษาคือการช่วยคนให้ดำเนินวิถีชีวิตแห่งตนที่ถูกต้องตามธรรมชาติ  ด้วยการให้เด็กทำกิจกรรมมีครูและผู้ปกครองเป็นผู้ป้องกันเด็กจากการรบกวนของโลกสมัยใหม่และเทคโนโลยี  สิ่งที่เด็กสัมผัสต้องเป็นธรรมชาติที่บริสุทธ์
แนวคิดของสไตเนอร์เน้นการเรียนรู้ของเด็กอย่างเป็นธรรมชาติ  เพราะสไตเนอร์เชื่อว่าเด็กสามารถพัฒนาศักยภาพแห่งตนได้ภายใต้การเรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติไม่ต้องตกแต่งการสอนของครู  ต้องเป็นการสร้างการเรียนรู้อย่างนุ่มนวลและแทรกซึมไปกับความรู้สึกของเด็กตามธรรมชาติโดยไม่ต้องสัมผัสกับเทคโนโลยี

หลักการสอน
 หัวใจของการเรียนการสอนแบบวอลดอร์ฟ  คือ  การสร้างความสมดุลของจิตมนุษย์  3  ประการ  ได้แก่  ความคิด  ความรู้สึก  และการกระทำ  โดยไม่มีการรบกวนจากเทคโนโลยีภายนอก  ความสงบทางจิตใจจะช่วยให้เด็กเรียนรู้จากการใช้วินัยในตนเอง
 วิธีจัดการเรียนการสอน
การเรียนการสอนตามแบบวอลดอร์ฟเป็นวิธีการตามแบบธรรมชาติ  เป็นไปตามบรรยากาศของชุมชนและตารางกิจกรรมประจำวัน  ที่ครูและผู้เรียนจะเรียนรู้ร่วมกันตามความสนใจของเด็ก  วิธีการจัดการเรียนการสอนจะเป็นการจัดกระทำทั้งระบบตั้งแต่บรรยากาศของโรงเรียน  สิ่งแวดล้อมและห้องเรียนต้องเป็นไปตามวิถีธรรมชาติ  รวมถึงการจัดการเรียนการสอนของครู  ในขั้นตอนการสอนของครูจะมีลักษณะเฉพาะต่างจากการเรียนการสอนแบบอื่น ๆ  ตรงที่การกระตุ้นการเรียนรู้เริ่มจากการแสดงแบบให้เด็กเห็นตามบรรยากาศที่จูงใจ
 การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
การเรียนรู้ของวอลดอร์ฟมาจากการซึมซับด้วยการสืบสานโดยตามธรรมชาติและตามธรรมชาติที่หล่อหลอมเข้าภายในตัวเด็กทั้งกายและจิตวิญญาณ  บรรยากาศการเรียนรู้รอบตัวเด็กทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนหรือกลางแจ้งต้องเป็นบรรยากาศที่งดงามตามธรรมชาติที่บริสุทธิ์  ประกอบด้วยความสงบและอ่อนโยน

บทบาทครู
ครูมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการควบคุมเรียนรู้และการใช้ชีวิตอย่างธรรมชาติของเด็ก  งานของครูที่โรงเรียนคือการจัดการเรียนการสอนด้วยการเป็นตัวอย่าง  การจัดสิ่งแวดล้อมที่มีบรรยากาศอบอุ่นและผ่อนคลาย  ในขณะเดียวกันครูต้องเป็นผู้เชื่อมสานงานโรงเรียนสู่บ้านเพื่อสานภารกิจการสร้างพลังการเรียนรู้อย่างธรรมชาติให้เกิดขึ้นกับเด็ก
ครูต้องทำหน้าที่ในการติดตามประเมินผลความเจริญก้าวหน้าของเด็กในการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคล  ครูมิใช่เป็นเพียงผู้ที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้  แต่ครูจะถ่ายทอดความคิด  ความรู้สึก  ความมุ่งมั่นและความรักอย่างแท้จริงให้กับเด็กเพื่อให้เด็กได้พบโอกาสของการพัฒนาศักยภาพภายในตนเองได้มากที่สุดและเต็มศักยภาพ
 สรุป
ข้อดีของการเรียนการสอนตามแบบวอลดอร์ฟ  ได้แก่  การใช้วิถีธรรมชาติเพื่อพัฒนาการเรียนรู้เป็นสะระหนึ่งที่สำคัญซึ่งครูสามารถนำไปประยุกต์สู่การสอนตามปกติได้  การใช้สื่อการเรียนรู้ธรรมชาติที่ไม่ใช้อุปกรณ์สำเร็จรูปสามารถสร้างเสริมการเรียนรู้ให้กับเด็กมากกว่า  ครูควรให้ความสนใจกับการใช้อุปกรณ์ธรรมชาติให้เด็กได้สัมผัสและนำมาสร้างสรรค์การเรียนรู้ด้วนตนเอง


ตัวอย่างโรงเรียนแนวการสอนวอลดอร์ฟ
โรงเรียนปัญโญทัย
199 ถ.สุขาภิบาล 5 ซอย 32 (แยก10) แขวงออเงิน เขตสายไหม กทม. 10220
โทร: 02-7920670, 02-7920672 โทรสาร: 02-7920672
Email: waldorfthai@hotmail.com Website: http://www.panyotai.com/students_th.html

อนุบาลบ้านรัก
29 ซอยแสงจันทร์ ถนนสุขุมวิท 40 ก.ท.ม.10110
โทร.02-3928807, 02-3820069 โทรสาร 381-4269
Website: http://www.baanrakk.th.edu/index.htm

บ้านฝันดีเนอสเซอรี่ จ.สุรินทร์
280/11 ถ.กรุงศรีนอก ตรงข้ามทางเข้าวัดพรหมสุรินทร์
โทร. 044-520845 หรือ 08-7905876
อนุบาลฟ้ากว้าง เชียงใหม่
Website: http://www.fahkwang.com/kindergarten.php

โรงเรียนสาธิตปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต (หลักสูตรเตรียมอนุบาล 2 ขวบ)
21 หมู่ 6 ถนนเทพกระษัตรี ตำบลรัษฎา อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต83000
โทรศัพท์ 076-211959 ต่อ 217/211 โทรสาร 076-211778
Email: PKRUsathit@gmail.com


การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน (Project - based Learning : PBL)



จอห์น ดิวอี้ (John Dewey)




จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) 
ได้นำเสนอแนวคิด เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ (Learning by doing)” ว่า ครูไม่ใช่ผู้กำหนดความคิด หรือจัดพฤติกรรมแบบหนึ่งแบบใดให้กับเด็ก แต่เป็นสมาชิกของชุมชนที่จะสร้างอิทธิพลที่มีผลให้เด็กช่วยตนเองได้ตอบสนองกลับมาอย่างเหมาะสม ที่จะเกิดการแสดงออกที่สร้างสรรค์ภายในศูนย์การเรียนรู้ที่ถูกต้อง” (Dewey,1897) ต่อมาเกิดรูปแบบการเรียนรู้จาก แนวคิดของดิวอี้ หลายรูปแบบ ได้แก่ - การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative learning) - การเรียนรู้แบบช่วยเหลือกัน (Collaborative learning) - การเรียนรู้โดยการค้นคว้าอย่างอิสระ (Independent investigation method) - การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based learning) - การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based learning)

ทอม มาร์คาม (Thom Markham, 2011) ได้อธิบายความหมายของPBL = Project-Based Learning ว่าเป็น การบูรณาการความรู้ และการปฏิบัติ โดยนักเรียนจะได้เรียนรู้องค์ประกอบสำคัญที่ต้องรู้ แต่จะประยุกต์ใช้กับการแก้ปัญหา และได้ผลเป็นชิ้นงานขึ้นมา เด็กที่เรียนรู้แบบนี้จะได้ใช้ประโยชน์จากเครื่องมือดิจิทอลคุณภาพสูง และได้ชิ้นงานที่เกิดจากการผสมผสาน พีบีแอลจะปรับมุมมองของการศึกษาสู่ระดับโลก และได้อีกหลายอย่างตามมา ทั้งแรงขับ ความรัก ความคิดสร้างสรรค์ การเอาใจใส่ และความยืดหยุ่น” 
“PBL integrates knowing and doing. Students learn knowledge and elements of the core curriculum, but also apply what they know to solve authentic problems and produce results that matter. PBL students take advantage of digital tools to produce high quality, collaborative products. PBL refocuses education on the student, not the curriculum–a shift mandated by the global world, which rewards intangible assets such as drive, passion, creativity, empathy, and resiliency. These cannot be taught out of a textbook, but must be activated through experience.”


          
                                   พหุปัญญา (Multiple Intelligence)

                                                

ความหมาย ประวัติความเป็นมาของทฤษฎีการสอนแบบพหุปัญญา
            
ทิศนา แขมมณี (2545 : 85) ได้กล่าวถึงทฤษฎีการสอนแบบพหุปัญญาว่า ผู้บุกเบิกทฤษฎีการสอนแบบนี้ คือ ดร.โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์  (Howard Gardner) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) โดยเขาได้เขียนหนังสือเรื่อง “Frames of Mind : The Theory of Multiple Intelligences” ซึ่งได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง แนวคิดของเขาก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิดเกี่ยวกับ เชาวน์ปัญญา” เป็นอย่างมาก และกลายเป็นทฤษฎีที่กำลังมีอิทธิพลอย่างกว้างขวางต่อการจัดการศึกษาและการเรียนการสอน ในปัจจุบัน
          ทฤษฎีเชาวน์ปัญญาแบบเดิมนั้น มักจะเน้นความสามารถในเชิงภาษา คณิตศาสตร์ และความคิดเชิงตรรกะ ดังจะเห็นได้จากการสอบคัดเลือกทั่วไป ทั้งวิชาวัดแววความเป็นครูในการสอบแอดมิชชั่นเข้ามหาวิทยาลัย หรือ ข้อสอบบรรจุเข้ารับราชการ มักจะเน้นองค์ประกอบ 3 ด้านนี้เป็นหลัก และถือว่าเป็นสิ่งกำหนดระดับเชาวน์ปัญญาของบุคคลไปตลอดชีวิต เพราะทฤษฎีเดิมถือว่า เชาวน์ปัญญาจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดชีวิต แต่การ์ดเนอร์ ได้ให้ความหมายของเชาวน์ปัญญาใหม่ว่า (Gardner. 1983 อ้างใน ทิศนา แขมมณี.  2545 : 86)
ความสามารถในการแก้ปัญหาในสภาพแวดล้อมต่างๆ หรือการ
สร้างสรรค์ผลงานต่างๆ ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับบริบททางวัฒนธรรมใน
แต่ละแห่ง    รวมทั้งความสามารถในการตั้งปัญหาเพื่อจะหาคำตอบและ
เพิ่มพูนความรู้
การ์ดเนอร์นั้น มีความเชื่อพื้นฐานเกี่ยวกับสติปัญญาที่สำคัญ 2ประการ คือ
         1.เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษา และทางคณิตศาสตร์เท่า นั้น แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8ประเภทด้วยกัน (ดังจะได้กล่าวต่อไป) แต่การ์ดเนอร์เองก็กล่าวว่าอาจจะมีมากกว่า 8 ประเภท โดยคนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านแตกต่างกันไป ซึ่งสอดคล้องกับเรื่องของความแตกต่างระหว่างบุคคล ความสามารถที่แตกต่างกันออกไปนี้ เมื่อผสมผสานออกมาแล้วจะก่อให้เกิดเอกลักษณ์เฉพาะตัวบุคคล
         2.เชาวน์ปัญญาไม่ใช่สิ่งที่มั่นคงถาวรตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย หากแต่สามารถเปลี่ยน แปลงได้ตามสภาพแวดล้อม และการส่งเสริมที่เหมาะสม
          การ์ดเนอร์เองได้อธิบายถึงเชาวน์ปัญญาไว้ว่า ประกอบด้วยความสามารถ 3 ประการ ได้แก่
        1.ความสามารถในการแก้ปัญหาในสภาพการณ์ต่างๆ ที่เป็นไปตามธรรมชาติ และตามบริบททางวัฒนธรรมของแต่ละบุคคล
        2.ความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานที่มีประสิทธิภาพ และสัมพันธ์กับบริบททางวัฒนธรรม
        3.ความสามารถในการแสวงหาหรือตั้งปัญหาเพื่อหาคำตอบและเพิ่มพูนความรู้
องค์ประกอบของทฤษฎีการสอนแบบพหุปัญญา (เชาวน์ปัญญา 8ด้าน)
          จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า การ์ดเนอร์ ได้เสนอว่าเชาวน์ปัญญาของบุคคลไว้ 8 ด้าน โดย พงษ์ศักดิ์ แป้นแก้ว (2546 : 109 – 114) ได้อธิบายไว้อย่างละเอียดดังนี้
          1.สติปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence)
            สติปัญญาด้านภาษา เป็นความสามารถในการเลือกใช้ถ้อยคำภาษาที่แสดงออกในการสื่อความหมาย โดยมีสมองส่วนBrocals Area ซึ่งเป็นสมองส่วนหน้า ควบคุมการเรียบเรียงประโยคออกมาเป็นประโยคที่สื่อความตามหลักภาษา หากสมองส่วนนี้อาจจะทำให้สื่อสารกับผู้อื่นไม่รู้เรื่อง แต่ยังฟังหรืออ่านสิ่งต่างๆ แล้วเข้าใจได้อยู่
       2.สติปัญญาในการใช้เหตุผลเชิงตรรกะและคณิตศาสตร์ (Logical–Mathematical Intelligence)
สติปัญญาในด้านการใช้เหตุผลเชิงตรรกะและคณิตศาสตร์ และด้านภาษาที่กล่าวไปข้างต้น มักจะถือว่าเป็นสติปัญญาขั้นทั่วไปของมนุษย์ มักจะวัดผ่านแบบทดสอบต่างๆ เชาวน์ปัญญาในด้านนี้มีสมองส่วนควบคุมกลไกในการแก้ปัญหาในการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ และการคำนวณทางคณิตศาสตร์ การ์ดเนอร์กล่าวถึงสติปัญญาในด้านนี้ว่า มีองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ
1.ด้านการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ (mathmatics) 
2.ด้านวิทยาศาสตร์ (Science) 
3.ด้านการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ (Logic)
       3.สติปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ (Bodily – Kinesthetic Intelligence)
สติปัญญาในด้านนี้เป็นความสามารถในการใช้ส่วนของร่างกายเพื่อการแสดงออก สร้าง สรรค์ หรือสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างคล่องแคล่ว ผู้ที่มีเชาวน์ปัญญาในด้านนี้จะมีสมองส่วนที่เรียกว่า Cortex โดยสมองส่วนหนึ่งจะเป็นหลักในการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย อีกด้านหนึ่งไขว้กัน (ขวาควบคุมซ้าย ซ้ายควบคุมขวา) คนที่ถนัดขวาจะมีการพัฒนาที่ชัดเจนมาตั้งแต่เด็ก
       4.สติปัญญาด้านการมองเห็นและมิติสัมพันธ์ (Visual/Spatial Intelligence)
เชาวน์ปัญญาด้านนี้ถูกควบคุมโดยสมองซีกขวา และแสดงออกทางความสามารถด้านศิลปะ การวาดภาพ การสร้างภาพ การคิดเป็นภาพ การเห็นรายละเอียด การใช้สี การสร้างสรรค์งานต่าง ๆ และมักจะเป็นผู้มองเห็นวิธีแก้ปัญหาในมโนภาพ เชาวน์ปัญญาในด้านนี้เป็นเชาวน์ปัญญาที่มนุษย์มีมาแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เพราะมนุษย์วาดภาพเพื่อสื่อสารความหมายมาตั้งแต่สมัยนั้น
       5 .สติปัญญาด้านดนตรี (Musical Intelligence)
เชาวน์ปัญญาด้านนี้ถูกควบคุมโดยสมองซีกขวาตอนบน บุคคลที่มีสติปัญญาทางด้านนี้ จะแสดงออกทางความสามารถในด้านจังหวะ การร้องเพลง การฟังเพลงและดนตรี การแต่งเพลง การเต้น และมีความไวต่อการรับรู้เสียงและจังหวะต่างๆ  โดยที่บางครั้งอาจดูเหมือนไม่มีความสามารถ เช่น เล่นเปียโนได้ แต่ไม่สามารถเล่นเครื่องดนตรีอื่นๆ ได้ หรือ บางครั้งในการเรียนทฤษฎีดนตรี อาจจะสอบตก แต่ร้องเพลงได้ไพเราะ เป็นต้น
       6.สติปัญญาด้านการเข้ากับผู้อื่น (Interpersonal Intelligence)
เชาว์ปัญญาด้านนี้ถูกควบคุมโดยสมองส่วนหน้า หากสมองด้านนี้ถูกทำลายจะทำให้เกิดปัญหาในการเข้าสังคม ความสามารถที่แสดงออกทางด้านนี้ เห็นได้จากการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การทำงานกับผู้อื่น การเข้าใจและเคารพผู้อื่น การแก้ปัญหาความขัดแย้ง และการจัดระเบียบ ผู้มีความสามารถทางด้านนี้ มักเป็นผู้ที่มีความไวต่อความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น
       7.สติปัญญาด้านการรู้จักและเข้าใจตนเอง (Intrapersonal Intelligence)
บุคคลที่สามารถในการเข้าใจตนเอง มักเป็นคนที่ชอบคิด พิจารณาไตร่ตรอง มองตนเอง และทำความเข้าใจถึงความรู้สึกและพฤติกรรมของตนเอง มักเป็นคนที่มั่นคงในความคิดความเชื่อต่าง ๆ จะทำอะไรมักต้องการเวลาในการคิดไตร่ตรอง และชอบที่จะคิดคนเดียว ชอบความเงียบสงบ สติปัญญาทางด้านนี้ มักเกิดร่วมกับสติปัญญาด้านอื่น มีลักษณะเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างเชาว์ปัญญา อย่างน้อย 2 ด้านขึ้นไป ผู้ที่ไม่มีสติปัญญาในด้านนี้ มักจะมีบุคลิกเฉื่อยชา เชื่องช้า ไม่ยินดียินร้ายและเศร้าซึม
       8.สติปัญญาด้านการเป็นนักธรรมชาติวิทยา (Nationalism Intelligence)
เชาวน์ปัญญาในด้านนี้ การ์ดเนอร์ได้เพิ่มหลังจากที่ตีพิมพ์หนังสือ“Frames of Mind : The Theory of Multiple Intelligences” แล้ว แต่ก็ได้กล่าวถึงลักษณะของเชาวน์ปัญญาเหล่านี้ในภายหลังว่า เชาวน์ปัญญาด้านนี้เป็นความสามารถในการสังเกตสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ การจำแนกแยกแยะ จัดหมวดหมู่ สิ่งต่าง ๆ รอบตัว บุคคลที่มีความสามารถทางนี้ มักเป็นผู้รักธรรมชาติ เข้าใจธรรมชาติ ตระหนักในความสำคัญของสิ่งแวดล้อมรอบตัว และมักจะชอบและสนใจสัตว์ ชอบเลี้ยงสัตว์เลี้ยง เป็นต้น
3.การประยุกต์ทฤษฎีการสอนแบบพหุปัญญากับการสอนในชั้นเรียน
ทิศนา แขมมณี (2545 : 89 – 90) กล่าวว่า การมองและเข้าใจเชาว์ปัญญาในความ หมายที่ต่างกัน ย่อมก่อให้เกิดการกระทำที่แตกต่างกัน ทฤษฎีพหุปัญญา ได้ขยายขอบเขตของความหมายของคำว่าปัญญาออกไปอย่างกว้างขวางมากขึ้นจากเดิม ส่งผลให้การจัดการเรียนการสอนขยายขอบเขตไปอย่างกว้างขวางเช่นกัน แนวทางการนำทฤษฎีพหุปัญญามาใช้ในการเรียนการสอนมีหลากหลายดังนี้
1.เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีเชาวน์ปัญญาแต่ละด้านไม่เหมือนกัน ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอนควรมีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย ที่สามารถส่งเสริมเชาวน์ปัญญาหลายๆ ด้าน มิใช่มุ่งพัฒนาแต่เพียงเชาวน์ปัญญาด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น ดังเช่นในอดีต เรามักจะมีการเน้นการพัฒนาด้านภาษาและด้านคณิตศาสตร์หรือด้านการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ อันเป็นการพัฒนาสมองซีกซ้ายเป็นหลัก ทำให้ผู้เรียนไม่มีโอกาสพัฒนาเชาวน์ปัญญาด้านอื่น ๆ เท่าที่ควร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้เรียนที่มีเชาวน์ปัญญาด้านอื่นสูง จะขาดโอกาสที่จะเรียนรู้และพัฒนาในด้านที่ตนมีความสามารถหรือถนัดเป็นพิเศษ การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการของสติปัญญาหลาย ๆ ด้าน จะช่วยให้ผู้เรียนทุกคนมีโอกาสที่จะพัฒนาตนเองอย่างรอบด้าน พร้อมทั้งช่วยส่งเสริมอัจฉริยภาพหรือความสามารถเฉพาะตนของผู้เรียนไปในตัว
2.เนื่องจากผู้เรียนมีระดับพัฒนาการในเชาวน์ปัญญาแต่ละด้านไม่เท่ากัน ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการในแต่ละด้านของผู้เรียน ตัว อย่างเช่น เด็กที่มีเชาวน์ปัญญาด้านดนตรีสูงจะพัฒนาปัญญาด้านดนตรีของตนไปอย่างรวดเร็ว ต่างจากเด็กคนอื่น ๆ ดังนั้น การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เด็กที่มีขั้นพัฒนาการด้านใดด้านหนึ่งสูง ควรต้องแตกต่างไปจากเด็กที่มีขั้นพัฒนาการในด้านนั้นต่ำกว่า
3.เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีเชาวน์ปัญญาแต่ละด้านไม่เหมือนกัน การผสมผสานของความสามารถด้านต่าง ๆ ที่มีอยู่ไม่เท่ากันนี้ ทำให้เกิดเป็นเอกลักษณ์ (Uniqueness) หรือลักษณะเฉพาะของแต่ละคนซึ่งไม่เหมือนกัน หรืออีกนัยหนึ่ง เอกลักษณ์ของแต่ละบุคคลทำให้แต่ละคนแตกต่างกัน และความแตกต่างที่หลากหลาย (Diversity) นี้ สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม ดังนั้น กระบวนการคิดที่ว่าคนนี้โง่ หรือเก่งกว่าคนนั้นคนนี้จึงควรจะเปลี่ยนไป การสอนควรเน้นการส่งเสริมความเป็นเอกลักษณ์ของผู้เรียน ครูควรสอนโดยเน้นให้ผู้เรียนค้นหาเอกลักษณ์ของตน ภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ของตนเอง และเคารพในเอกลักษณ์ของผู้อื่น  รวมทั้งเห็นคุณค่าและเรียนรู้ที่จะใช้ความแตกต่างของแต่ละบุคคลให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม เช่นนี้ ผู้เรียนก็จะเรียนรู้อย่างมีความสุข มีทัศนคติที่ดีต่อตนเอง เห็นคุณค่าในตนเอง ในขณะเดียวกันก็มีความเคารพในผู้อื่น และอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลกัน
4.ระบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ควรจะต้องมีการปรับเปลี่ยนไปจากแนวคิดเดิมที่ใช้การทดสอบเพื่อวัดความสามารถทางเชาวน์ปัญญาเพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น และที่สำคัญคือ ไม่สัมพันธ์กับบริบทที่แท้จริงที่ใช้ความสามารถนั้น ๆ ตามปกติ วิธีการประเมินผลการเรียนการสอนที่ดี ควรมีการประเมินหลาย ๆ ด้าน และในแต่ละด้านควรเป็นการประเมินในสภาพการณ์ของปัญหาที่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยอุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาด้านนั้น ๆ การประเมินจะต้องครอบคลุมความสามารถในการแก้ปัญหา หรือการสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้อุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาด้านนั้น อีกวิธีหนึ่งคือการให้เรียนอยู่ในสภาพการณ์ที่ซับซ้อนซึ่งต้องใช้สติปัญญาหลายด้าน หรือการให้อุปกรณ์ซึ่งสัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาหลาย ๆ ด้าน และสังเกตดูว่า ผู้เรียนเลือกใช้เชาวน์ปัญญาด้านใด หรือศึกษาและใช้อุปกรณ์ซึ่งสัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาด้านใด มากเพียงไร
                                        

                                             STEM






BBL (Brain-based Learning)