บันทึกอนุทินครั้งที่ 11
วิชา EAED 4215 Learning Experiences Management in Early childhood
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 21 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2559
กลุ่ม 106 เวลาเรียน 14.30 - 17.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้อาจารย์ตรวจแผนของทุกกลุ่ม และให้แต่ละกลุ่มออกมาสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ และกิจกรรมเสริมประสบการณ์
1.หน่วยส้ม
คำแนะนำของอาจารย์คือ การเขียนแผนการจัดประสบการณ์ควรใช้ปากกาเขียน แผนการการจัดประสบการณ์เขียนไม่มีที่มาที่ไป สอนไม่ตรงตามแผนและกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะต้องใช้กิจกรรมพื้นฐานก่อน การสอนควรตั้งสติใจเย็นๆ เพราะถ้สตื่นเต้นทำให้เกิดอาการพูดถูกพูดผิด และต้องปรับปรุงในเรื่องการเคาะจังหวะ การสั่งต้องชัดเจน วิธีการเรียนรู้ของเด็กที่เด็กจะเรียนรู้ได้ดี คือ การสังเกต การสัมผัส และกลุ่มนี้สอนเกี่ยวกับบนนยายลักษณะของส้มเป็นส่วนใหญ่ ควรดูการสอนจากเพื่อนกลุ่มอื่นแล้วค่อยมาปรับปรุงแก้ไข
2. หน่วยผีเสื้อ
คำแนะนำของอาจารย์คือ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจัวหวะ เป็นกิจกรรมที่เน้นการเคลื่อนไหวอยู่ที่กายจึงไม่ต้องมีแผนชาร์ท เพลงที่จะใช้ในกิจกรรมควรเป็นเพลงที่เด็กร้องได้ด้วย ขั้นตอนแรกครูต้องร้องเพลงให้เด็กฟัง 1 รอบ แล้วกำกับจังหวะ โดยให้เด็กได้จับกลุ่มผลัดกันร้อง ผลัดกันเต้น ผลัดกันเคาะจังหวะ เด็กจะได้ไม่สับสนรู้หน้าที่ของตนเอง และในการผ่อนคลายกล้ามเนื้อไม่ควรใช้เวลามาก แต่เน้นให้ด็กทำทุกวัน ส่วนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ครูสามารถนำรูปมาติดที่แผ่นชาร์ทได้ ครูควรใช้ปากกาสีที่แตกต่างกันเช่นคำว่าผีเสื้อเป็นสีแดง ตัวหนังสืออื่นเป็นสีน้ำเงิน เพื่อให้เด็กเห็นคำว่าผีเสื้อชัดเจนขึ้น และไม่ควรนำชนิดผีเสื้อมาเยอะเกินไป เพราะเด็กไม่สามารถจำชนิดผีเสื้อได้หมด ควรนำมาแค่ 3 ชนิดก็พอ การติดรูปแยกประเภทของผีเสื้อต้องติดจากทางซ้ายมือของเด็กไปทางขวามือของเด็ก ครูต้องถามว่าผีเสื้อชนิดไหนมีมากกว่ากัน แล้วให้เด็กออกมาจับคู่ 1: 1
3. หน่วยผัก
คำแนะนำของอาจารย์ คืิอ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะไม่ต้องใช่ชาร์เพลง กลุ่มนี้เคาะจังหวะได้ชัดเจน ครูควรให้เด็กได้เดินด้วยปลายเท้า ส้นเท้า เพื่อให้เด็กปรับเปลี่ยน หลังจากที่ครูทบทวนร้องเพลงแล้ว ครูควรเรียกเด็กออกมา 1 คน ทำท่าทางนำเพื่อน เพื่อให้เด็กได้ท่าทางที่แตกต่างกัน ผลักันสัก 4-5 คน ไม่ต้องครบทุกคน ส่วนกิจกรมเริมประสบการณ์ การเขียนประเภทของผักต้องเขียนว่าผักแต่ละชนิด กินใบ กินดอก หรือกินหัว และทำตารางเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจน พอครูสอนเมื่อครูถามเด็กว่าผักอะไรกินใบ ครูก็เขียนสิ่งที่เด็กพูดลงไปในชาร์ท ถ้าเป็นไปได้ควรเอาของจริงมาเพื่อให้เด็กได้เห็นของจริงและทำให้น่าสนใจยิ่งขึ้น
4 หน่วยยานพาหนะ
คำแนะนำของอาจารย์ คืิอ กลุ่มนี้เคาะจังหวะได้ชัดเจน การเคลื่อนไหวตามคำบรรยาย ครูต้องเคาะจังหวะหยุดให้เด็กด้วย เช่น เด็กๆจอดรถจักรยานลงไปในหาดทราย ขณะที่ครูพูด ครูตองเคาะจังหวะหยุดให้เด็กทันที ส่วนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ครูต้องใช่เกณฑ์ให้ชัดเจนในการบอกประเภทของยานพาหนะ ควรใช้การเปรียบเทียบ 3 ชนิดกับเด็ก อ.3 หรือ อ.2 ตอนปลาย ครูสามารถใช้ได้แต่ครูต้องรู้วิธีการพูดให้ถูก
5.หน่วยกล้วย
คำแนะนำของอาจารย์ คืิอ ครูควรเคาะจังหวะหยุดทันที เมื่อต้องการให้เด็กหยุดการเคลื่อนไหว ไม่ควรเว้นระยะในการเคาะจังหวะหยุด ส่วนกิจกรรมเสริมประสบการณ์แผ่นชาร์ทเพลงภาพกล้วยไม่ควรใช่สีสะท้อนแสง การนับจำนวนกล้สยไม่ควรนำภาพมาเป็นหวี เพราะทำให้ไม่สามารนับได้
6.หน่วยเห็ด
คำแนะนำของอาจารย์ คืิอ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ มีการให้เด็กเปลี่ยนทิศทางในการเคลื่อนไหวกิจกรรมพื้นฐาน ส่วนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ครูต้องหาแผงไข่มาวางเห็ดไม่ให้ซ้อนกัน แผ่นชาร์ทต้องหาฟิวเจอร์บอร์ดมารองด้านหลังให้หนา ติดรูปเห็ดในการแยกประเภทของเห็ดต้องติดจากทางซ้ายมือไปทางขวามือของเด็ก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น